ชบากลีบซ้อน

*ชบากลีบซ้อน*
สำหรับ ทุกคน
สไลด์โชว์
**…ช่อตะแบกชาตบุษย์พุทรา การะเกดกรรณิการ์นมสวรรค์
มะลุลี มะลิลา แสลงพัน อัญชันแอบช่อชบาบาน…**

รามเกียรติ์ : พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ร.1
*****จากการที่ ชบา มีหลายสายพันธุ์และแต่ละสายพันธุ์ ก้อล้วนแต่มีรูปทรงของดอกที่แตกต่างกัน..และมีสีสันที่สวยงามอย่างประหลาด….แหละเพราะสีสันที่สวยงามของดอกชบานี่เอง..ที่เป็นตัวล่อเหล่าแมลงทั้งหลายให้มาดอมดมและมาชมชิมความหอมหวานของเกสร…จนทำให้ “พวกมด” บางชนิด.พากันอิจฉา.จึงจำต้องต้องคาบ”ตัวเพลี้ย” มาเลี้ยงไว้ที่ต้นชบา.เพื่อให้ ตัวเพลี้ย ดูดน้ำเลี้ยงจากต้นชบา แล้วถ่ายออกมาเป็นของหวานให้ พวกมดใช้เป็นอาหาร…..จนทำให้ เจ้าชบา ต้องพบจุดจบ อย่างน่าอนาถ…..โธ่..เจ้าชบา..เจ้าตายเพราะความสวยของตัวเองแท้ๆ………ผิดกับข้าฯ.เพราะข้าฯตายเพราะความสวยของคนอื่น.แท้ๆ…หุหุ.**

ชื่อไทย ชบากลีบซ้อน
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Hibiscus rosa-sinensis L.
วงศ์ : MALVACEAE

ชบาเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ทรงพุ่มกว้าง สูงได้ถึง 4 เมตร
ใบ เดี่ยว ออกสลับ รูปไข่ กว้างประมาณ 4 ซม. ยาว 4- 9 ซม.โคนสอบหรือมน ปลายเรียวแหลม ขอบจัก
ดอก สีแดง กลางดอกสีแดงเข้ม ออกเดี่ยวตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง มีริ้วประดับที่โคนดอก 5-8 แฉก โคนเชื่อมกันเป็นรูประฆัง ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอก 5 กลีบรูปไข่กลับ เกสรเพศผู้จำนวนมาก ก้านเกสรเชื่อมกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 9 ซม. ล้อมรอบเกสรเพศเมีย ชบาพันธุ์ลูกผสม มีสีแดง ชมพู ขาว เหลือง ส้ม กลีบดอกชั้นเดียวหรือซ้อนกันหลายชั้น มีทั้งดอกขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ออกดอกตลอดปี
การขยายพันธุ์ ปักชำกิ่ง ตอนกิ่ง เสียบกิ่ง
ประโยชน์ เป็นไม้ประดับ รากสดตำพอกฝี รับประทานช่วยให้เจริญอาหาร ดอกสดใช้ขัดรองเท้าให้มัน
ถิ่นกำเนิด ปลูกทั่วไปในเขตร้อน ขึ้นง่าย โตเร็ว

** ชบาในบ้านเรารู้จักกันมานานแล้ว จะเห็นได้จากบ้านคนสมัยก่อนจะมีชบายอยู่แทบทุกบ้านปัจจุบันชบาได้รับการผสมพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่่ออกมามากมาย ซึ่งล้วนแต่สวยงาม ทั้งนั้น ทำให้ได้ดอกของชบาที่มีรูปร่างสวยงามสีสันของดอกสดใส ขบานั้นจัดเป็นไม้พุ่ม ความสูงโดยทั่วไปประมาณ 2.50 เมตร ใบมีสีเขียวเข้ม มนรี ปลายใบแหลม แต่ปัจจุบันก็ยังมีพันธุ์ แตกต่างออกไปอีกมากมาย

**การดูแลรักษา **
แสง ชอบแสงแดดมาก
น้ำ ต้องการน้ำพอประมาณ
ดิน เป็นไม้ที่ปลูกได้ง่ายสามารถเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ไม่
ควรให้ดินเปียกหรือแฉะเกินไป
ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก
โรคและแมลง ไม่ค่อยมีโรค จะมีก็แต่เพลี้ยที่คอยรบกวน
การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นด้วยยามาลาไธออนหรือไดอาซินอน ตามคำแนะนำที่ระบุไว้ใน

ที่มา http://webclass.kkucs.com/members/523021073-4/lab1.html